ว่าด้วยเรื่องนางอัปสร

คำว่า “อัปสร” หรือ “อัปสรา”
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงแปลตามตัวอักษรว่า “ผู้กระดิกในน้ำ”
แปลเป็นไทยแล้วอาจขำ แต่แท้จริงแล้ว ชื่อนี้สื่อได้ดีและชัดเจน จากคติฮินดู เมื่อพระวิษณุเป็นประธานในพิธีกวนเกษียรสมุทร หรือ ทะเลน้ำนมนี้ ใช้ภูเขามันทร หรือเขาพระสุเมรุแทนไม้กวน ใช้พระยานาควาสุกรีแทนเชือก อสูรจับหัว เทวดาจับหาง ปั่นไปปั่นมาจนได้อมฤตมาหล่อเลี้ยงโลกให้อุดมสมบูรณ์
ทั้งนี้ อาจพบว่าประธานในการกวนอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ ตามความเชื่อของแต่ละนิกาย เช่น นิกายไศวะ ประธานในการกวนจะกลายเป็นพระศิวะหรือพระอิศวร แต่ถ้าเป็นทางพุทธ ประธานจะเป็นพระอินทร์ เป็นต้น
จวบจนเวลาเนิ่นนานผ่านไป 1,000 ปี ได้ของทั้งดีและไม่ดีมา 10 อย่าง หนึ่งในนั้น คือ นางอัปสร ซึ่งแต่ละนางนั้น ล้วนเป็นหญิงรูปงาม ประดับประดาด้วยเครื่องประดับวิจิตรา ทว่า กลับไม่มีเทวดาหรืออสูรตนใดรับไปเป็นคู่ครองเลย เหล่านางอัปสรจึงตกเป็น “ของกลาง”
ได้นามว่า “สุรางคนา” แปลว่า เมียเทวดาทั่วๆไป
หรืออีกนามว่า “สุมทาตมชา” แปลว่า สตรีผู้เต็มไปด้วยความมัวเมา
อย่างไรก็ตาม นางอัปสรก็เป็น “เทพแห่งความดีงาม” ในใจชาวเขมรเรื่อยมา
ชาวเขมรจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า ผู้ใดที่ปรารถนาจะมีลูก ก็ให้ไปอธิษฐานเอาจากนางอัปสร เน้นว่าต้องเป็นที่นครวัด การอธิษฐานก็ไม่ยากครับ แค่ลูบๆคลำที่หน้าอกนางอัปสรสักองค์เป็นใช้ได้
ดูจากภาพแล้ว เชื่อได้ว่าชาวเขมรคงอยากจะมีลูกกันมากเลยทีเดียว แหม่...จับซะมันเชียว
7 Comments:
ไม่เห็นมันเลยเธอออกแนวดำมากกว่านะ
หึหึ...ใกล้เป็นมะเร็งแล้วมั๊ง
ทำไมคนเรามันชอบจับนมกันนักวะแก ชั้นล่ะไม่เข้าใจ ขนาดรูปปั้นของปลอมก้อยังจะไปลูบๆจับๆอีก เฮ้อๆๆๆๆ ขอบคุนนะได้ฟามรู้อีกจ้า
ขอบคุณพี่ปรีดี สำหรับการติงเรื่องคำผิด
ขอบพระคุณ และแก้แล้วเจ้าค่ะ
เชิญทัศนา...
เคยไปดูนางอัปสรที่เมืองๆในประเทศเวียดนาม
ชื่อมายซัน
เป็นโบราณสถานที่ได้รับอิทธิพลเขมร
นางอัปสรที่นั้นสวยดีครับ
ดูมีเสน่ห์และคลังดี
โอ้ว...น่าสนใจมากค่ะ
ขอบคุณที่เล่าสู่กันฟังนะคะ
ที่บ้านไม่มีนิ
Post a Comment
Subscribe to Post Comments [Atom]
<< Home